ไม่ว่าจะเป็นนอนหลับยาก หลับๆ ตื่นๆ หรือตื่นขึ้นมากลางดึกแล้วหลับต่อไม่ได้ ก็ถือว่าเป็นอาการนอนไม่หลับ คนที่นอนไม่พอ ประสิทธิภาพในการทำงานจะลดลงและขาดสมาธิ เนื่องจากสมองล้า ร่างกายอ่อนเพลีย คนที่นอนไม่หลับเรื้อรังอาจมีความวิตกกังวล ตึงเครียดง่าย เมื่อถึงเวลานอนอาจถึงขั้นไม่อยากขึ้นเตียงเลยทีเดียว เพราะคอยแต่กังวลว่าคืนนี้จะนอนหลับไหม
การศึกษาวิจัยในต่างประเทศ พบว่า คนที่นอนน้อยกว่า 4 ชั่วโมง หรือนอนมากกว่า 10 ชั่วโมงต่อคืนเป็นกิจวัตร มีอายุสั้นกว่าคนที่นอนหลับเป็นปกติ และคนที่นอนหลับไม่เพียงพอ ในอนาคตมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคร้ายแรงมากขึ้น เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง
เด็กในวัยเจริญเติบโตที่นอนดึกเป็นประจำ จะตัวเล็ก โตช้ากว่าเด็กที่นอนหลับสนิทเพียงพอ เพราะฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตจะหลั่งได้เต็มที่ขณะหลับลึก ร่างกายใช้ช่วงเวลานอนหลับในการบำรุงและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ การนอนหลับให้เพียงพอจึงมีความสำคัญต่อคุณภาพชีวิต
สำหรับผู้ใหญ่ แพทย์แนะนำว่า โดยเฉลี่ยควรนอนให้ได้ประมาณ 7-8 ชั่วโมง แต่ให้ข้อสังเกตว่าหากตื่นนอนแล้วรู้สึกสดชื่น ไม่อ่อนเพลีย ไม่ง่วงเหงาหาวนอน สมองแจ่มใส ทำงานได้ตามปกติ สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาได้ดี ก็ถือว่าได้นอนเพียงพอแล้ว แม้จะไม่ถึง 7-8 ชั่วโมงก็ตาม
ลักษณะของการนอนไม่หลับ แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ
1. นอนไม่หลับชั่วคราว ส่วนใหญ่เกิดจากความเครียดหรือความกังวลใจต่อเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง เช่น ทะเลาะกับแฟน มีปัญหากับเพื่อนที่ทำงาน ใกล้วันสอบหรือวันที่มีธุระสำคัญ การเจ็บป่วยฉับพลัน บางคนจะไวต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้ตื่นตัวอยู่จนนอนไม่หลับ เช่น อากาศเปลี่ยน หรือการเดินทางเปลี่ยนสถานที่นอน ส่วนใหญ่อาการจะดีขึ้นเองภายใน 2-3 วัน
2. นอนไม่หลับเป็นระยะๆ มักเป็นกลุ่มที่มีอาการต่อเนื่องจากกลุ่มที่ 1 เนื่องจากปัญหายังไม่คลี่คลาย เช่น การตกงาน ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาครอบครัว โดยทั่วไปถ้าปัญหาต่างๆ คลี่คลายลง การนอนหลับก็มักจะกลับมาเป็นปกติได้ แต่ทางที่ดีผู้ที่มีอาการเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์ว่ามีแนวทางแก้ไขอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเรื้อรัง
3. นอนไม่หลับเรื้อรัง มีอาการนอนไม่หลับเป็นประจำต่อเนื่องเกือบทุกคืน มีสาเหตุได้หลายอย่าง ได้แก่ อาการเจ็บป่วยทางกายต่างๆ เช่น โรคกระดูกเสื่อมทำให้ปวดตามตัว โรคหัวใจ โรคปอดหรือการไอเรื้อรัง โรคเบาหวาน โรคบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับการนอน เช่น การนอนกรน การหายใจผิดปกติขณะหลับ กล้ามเนื้อขากระตุกเป็นพักๆ ระหว่างนอน หรือเป็นโรคทางจิตเวชต่างๆ เช่น โรคเครียด โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคจิต
บางคนอาจมีอาการนอนไม่หลับเรื้อรังโดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน กลุ่มนี้มักเกิดจากความเคยชินในการปฏิบัติตัว หรือมีพฤติกรรมบางอย่างที่รบกวนการนอนหลับ การได้รับยาหรือสารกระตุ้น เช่น เหล้า บุหรี่ ชา กาแฟ ยากระตุ้นประสาท หรือยาลดความอ้วน ก็เป็นสาเหตุให้นอนไม่หลับได้เช่นกัน
เหล้า เป็นสิ่งที่คนจำนวนไม่น้อยใช้เพื่อช่วยให้หลับ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณเล็กน้อย เช่นจิบก่อนอาหารหรือก่อนเข้านอน จะช่วยให้ผ่อนคลาย ทำให้หลับได้ แต่การดื่มในปริมาณมาก จะไปรบกวนการนอนหลับที่ต่อเนื่อง เนื่องจากแอลกอฮอล์จะกระตุ้นระบบประสาท ทำให้คุณภาพการนอนไม่ดี ตื่นกลางดึก ฝันตึงเครียด เหงื่อออกมาก ปวดศีรษะ กดการหายใจขณะหลับ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยเฉพาะผู้ที่นอนกรนอยู่แล้ว หรือกำลังรับประทานยาบางอย่างซึ่งมีฤทธิ์กดการหายใจร่วมด้วย ในผู้ที่ติดเหล้า เมื่อหยุดดื่มจะเกิดอาการประสาทหลอน นอนไม่หลับติดต่อกันหลายๆ วันได้
ผู้ที่นอนกรน หรือมีความผิดปกติเกี่ยวกับการหายใจ คนวัยกลางคนขึ้นไป และผู้หญิงหมดประจำเดือน ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงก่อนเข้านอน
ส่วนกาเฟอีนในชา กาแฟ จะกระตุ้นประสาทให้ตื่นตัว ทำให้หลับได้ยากขึ้นและนอนได้น้อยลง โดยเฉลี่ยกาแฟ 1 แก้ว มีกาเฟอีนประมาณ 100 มิลลิกรัม ชา และ โคลา มีกาเฟอีนประมาณ 50-75 มิลลิกรัม ผลของกาเฟอีนอยู่ได้นาน 8-14 ชั่วโมงแตกต่างกันในแต่ละคน คนที่มีปัญหานอนหลับยาก จึงไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนช่วงเย็นถึงดึก และผู้ที่มีปัญหาการนอนหลับรุนแรงควรงดคาเฟอีนเด็ดขาด 6-10 สัปดาห์ จะช่วยให้การรักษาได้ผลดีขึ้น
สำหรับบุหรี่ มีสารนิโคตินซึ่งมีผลคล้ายคาเฟอีน ในช่วงที่มีนิโคตินในเลือดต่ำ (เมื่อสูบเพียงเล็กน้อย) จะมีผลกล่อมประสาท ช่วยให้ผ่อนคลายและง่วงหลับได้ แต่ในช่วงที่ความเข้มข้นของนิโคตินในเลือดสูง (สูบติดต่อกันหลายมวน) จะกระตุ้นประสาทให้ตื่นตัว ไม่ง่วง การสูบบุหรี่ก่อนเข้านอนหรือเมื่อตื่นกลางดึก จึงทำให้หลับได้ยากขึ้น
คนที่ดื่มทั้งเหล้าและกาแฟ แถมสูบบุหรี่ คงไม่ต้องบอกว่าจะส่งผลต่อการนอนหลับอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะคนที่อายุ 45 ปีขึ้นไป จะมีผลรบกวนการนอนมากกว่าคนอายุน้อย
การรักษาอาการนอนไม่หลับต้องแก้ที่ต้นเหตุ ร่วมกับการฝึกให้มีสุขอนามัยการนอนร่วมกับการมีพฤติกรรมการนอนที่ดี ติดตามได้ในตอนต่อไปค่ะ
ข่าวประชาสัมพันธ์
(1)
ข่าวสุขภาพ
(4)
คลิปวีดีโอ
(18)
ความรัก
(8)
ชะตาสุขภาพ
(1)
บทความ
(25)
โปรแกรมอาหาร
(2)
ผัก
(3)
ผู้หญิง
(1)
โรคผิวหนัง
(2)
ลดสัดส่วน
(40)
ลูกน้อย
(1)
สมุนไพร
(5)
สุขภาพกาย
(1)
สุขภาพจิต
(1)
สุขภาพรัก
(1)
อาหารเช้า
(2)
รู้จักพืชสมุนไพร
"สมุนไพร" นับว่าเป็นยาที่ สำหรับรักษาโรคต่างๆ ได้มากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
"พืชสมุนไพร" ทั้งหลาย "
พืชสมุนไพร" ที่นำเอามาเป็นส่วนประกอบของยารักษาโรคของคนเรานั้น
ได้รับการอนุญาตให้ใช้รักษาความ เจ็บไข้ได้ป่วย ของมนุษย์เราได้
โดยมีพระราชบัญญัติยาพุทธศักราช 2522 ปรากฏออกมา
อันมีความหมายถึงยาที่ได้จากพืช สัตว์ และแร่ธาตุต่างๆซึ่งยังมิได้ผสมปรุงหรือ
ทำการแปรสภาพเป็นต้นว่า ส่วนของรากหัว เปลือก ใบ ดอก เมล็ด ผลบางท่านอาจจะเข้าใจผิดคิดไปว่า "สมุนไพร"
มีแต่พืชเพียงอย่างเดียวหามิได้เพราะยังมีสัตว์และแร่ธาตุอื่นๆอีกสมุนไพร
ที่เป็นสัตว์ได้แก่ เขา หนัง กระดูก ดี หรือเป็นสัตว์ทั้งตัวก็มี
เช่น ตุ๊กแกไส้เดือน ม้าน้ำ ฯลฯ
"พืชสมุนไพร"นั้นตั้งแต่โบราณก็ทราบกันดีว่ามีคุณค่าทางยามากมายซึ่ง
เชื่อกันอีกด้วยว่า ต้นพืชต่างๆ
ก็เป็นพืชที่มีสารที่เป็นตัวยาด้วยกันทั้งสิ้นเพียงแต่ว่าพืชชนิดไหนจะมีคุณค่า
ทางยามากน้อยกว่ากันเท่านั้น
"พืชสมุนไพร" หรือวัตถุธาตุนี้ หรือตัวยาสมุนไพรนี้ แบ่งออกเป็น 5 ประการ
1.รูป ได้แก่ ใบไม้ ดอกไม้ เปลือกไม้ แก่นไม้ กระพี้ไม้ รากไม้ เมล็ด
2.สี มองแล้วเห็นว่าเป็นสีเขียวใบไม้ สีเหลือง สีแดง สีส้ม สีม่วง สีน้ำตาล สีดำ
3.กลิ่น ให้รู้ว่ามรกลิ่น หอม เหม็น หรือกลิ่นอย่างไร
4.รส ให้รู้ว่ามีรสอย่างไร รสจืด รสฝาด รสขม รสเค็ม รสหวาน รสเปรี้ยว รสเย็น
5.ชื่อ ต้องรู้ว่ามีชื่ออะไรในพืชสมุนไพรนั้นๆ ให้รู้ว่า ขิงเป็นอย่างไร ข่า เป็นอย่างไร ใบขี้เหล็กเป็นอย่างไร
ดอกมะขามเป็นอย่างไร ผลมะเกลือเป็นอย่างไร
ข้อมูลจาก : สมุนไพรดอทคอม
"พืชสมุนไพร" ทั้งหลาย "
พืชสมุนไพร" ที่นำเอามาเป็นส่วนประกอบของยารักษาโรคของคนเรานั้น
ได้รับการอนุญาตให้ใช้รักษาความ เจ็บไข้ได้ป่วย ของมนุษย์เราได้
โดยมีพระราชบัญญัติยาพุทธศักราช 2522 ปรากฏออกมา
อันมีความหมายถึงยาที่ได้จากพืช สัตว์ และแร่ธาตุต่างๆซึ่งยังมิได้ผสมปรุงหรือ
ทำการแปรสภาพเป็นต้นว่า ส่วนของรากหัว เปลือก ใบ ดอก เมล็ด ผลบางท่านอาจจะเข้าใจผิดคิดไปว่า "สมุนไพร"
มีแต่พืชเพียงอย่างเดียวหามิได้เพราะยังมีสัตว์และแร่ธาตุอื่นๆอีกสมุนไพร
ที่เป็นสัตว์ได้แก่ เขา หนัง กระดูก ดี หรือเป็นสัตว์ทั้งตัวก็มี
เช่น ตุ๊กแกไส้เดือน ม้าน้ำ ฯลฯ
"พืชสมุนไพร"นั้นตั้งแต่โบราณก็ทราบกันดีว่ามีคุณค่าทางยามากมายซึ่ง
เชื่อกันอีกด้วยว่า ต้นพืชต่างๆ
ก็เป็นพืชที่มีสารที่เป็นตัวยาด้วยกันทั้งสิ้นเพียงแต่ว่าพืชชนิดไหนจะมีคุณค่า
ทางยามากน้อยกว่ากันเท่านั้น
"พืชสมุนไพร" หรือวัตถุธาตุนี้ หรือตัวยาสมุนไพรนี้ แบ่งออกเป็น 5 ประการ
1.รูป ได้แก่ ใบไม้ ดอกไม้ เปลือกไม้ แก่นไม้ กระพี้ไม้ รากไม้ เมล็ด
2.สี มองแล้วเห็นว่าเป็นสีเขียวใบไม้ สีเหลือง สีแดง สีส้ม สีม่วง สีน้ำตาล สีดำ
3.กลิ่น ให้รู้ว่ามรกลิ่น หอม เหม็น หรือกลิ่นอย่างไร
4.รส ให้รู้ว่ามีรสอย่างไร รสจืด รสฝาด รสขม รสเค็ม รสหวาน รสเปรี้ยว รสเย็น
5.ชื่อ ต้องรู้ว่ามีชื่ออะไรในพืชสมุนไพรนั้นๆ ให้รู้ว่า ขิงเป็นอย่างไร ข่า เป็นอย่างไร ใบขี้เหล็กเป็นอย่างไร
ดอกมะขามเป็นอย่างไร ผลมะเกลือเป็นอย่างไร
ข้อมูลจาก : สมุนไพรดอทคอม
แป๊ะตำปึง หรือจักรนารายณ์
แปะตำปึง
ต้นแปะตำปึงเดิมเป็นต้นยามาจากประเทศจีน ลักษณะของใบยาจะหนานุ่มคล้ายกำมะหยี่ รสชาดของใบยาคล้ายชมพูที่ยังไม่แก่
สรรพคุณ
จะฟอกเลือด ปรับระบบเลือดให้ดีขึ้น น้ำเหลืองจะดีขึ้น รักษาแผลภายใน - ภายนอก ชะล้างสารพิษภายในร่ายกายออกทาง (อุจจาระ ปัสสาวะ และทางตา) ทำให้กินข้าวใด้นอนหลับอาการปวดต่าง ๆ ก็จะหาย ระบบหายใจจะดีขึ้นไม่เหนื่อยหอบ ขับลมแน่นภายในช่องท้อง โรคที่ใบยาแปะตำปึง ได้รักษาหายมาแล้ว ได้แก่โรคเบาหวาน ความดันสูง-ต่ำ โรคหืดหอบ-ภูมิแพ้ โรคมะเร็งทุกชนิด ริดสีดวงทวารหนัก งูสวัด โรคเก๊า ขับนิ่ว แผลสะเก็ดเงิน แผดฝีหนองทั่วไป โรคหัวใจ โรคโลหิตจาง เนื้องอกต่าง ๆ ในไต ปวดเหงือก ปวดฟันแผลอักเสบ ปวดท้องประจำเดือน คอเรสเตอรอล ไขมันในเส้นเลือด ไทรอยท์ ปวดเส้น ปวดหลัง โรคกระเพาะ ดวงตาที่เป็นต้อ ดวงตาอับเสบ ขุ่นมัว โรคผิวหนังทั่วไป (สิว ฝ้า เป็นด่าง) <โรคเอดส์ถ้าทานใบยาก็จะมีผลให้สุขภาพดีขึ้น>
วิธีการรับประทาน
ใบสด ควรรับประทานวันละ 1 ครั้ง ประมาณ 2,3 หรือ 5 ใบ เวลาที่ควรรับประทานใบยาที่ดีที่สุดคือ ตี 5-7 โมงเช้า เพราะลำไส้เริ่มทำงาน ท้องยังว่างอยู่จะได้ผลเร็ว ถ้าบางท่านที่ปวดเหงือก - ปวดฟัน ปากเป็นแผลลำคออักเสบ ควรรับประทานใบยาในเวลากลางคืน (แปรงฟันให้เรียบร้อย) ค่อยรับประทานใบยาเคี้ยวและอมทิ้งไว้สักระยะเวลาหนี่งแล้วค่อยกลืน ผลที่จะได้รับคือ ตื่นเช้าอาการปวดจะหายไป จะขับถ่ายโล่งสบาย จะมีขี้ตาออกมาเยอะหน่อย เพราะใบยาจะขับสารพิษออกทางตา ถ้าใครปวดท้องและเป็นโรคกระเพาะให้รับประทานใบยาเดี่ยวนั้น สักพักหนึ่งอาการปวดของโรคกระเพาะก็จะหายไป ยังช่วยขับลมแก๊สที่แน่นในท้องออกด้วย ยังสามารถนำใบยาแปะตำปึงใปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้อีก นอกเหนือจากรับประทานใบสดแล้ว ได้แก่
1.นำใบยามาทำเป็นอาหาร เช่น แกงจืด (15-20 ใบต่อ 1 ท่าน)
2.นำมาพอกตาสำหรับคนที่ดวงตาเป็นต้อ ดวงตาอักเสบ ตามัว นำใบยาประมาณ 7-8 ใบ มาขยี้ หรือใช้ครกตำก็ได้ บีบน้ำยาใส่ที่ดวงตา แบ่งใบยาเป็น 2 ส่วน พอกไว้ 20-30 นาที ค่อยล้างออก ผลที่ได้รับคือ ดวงตาจะสว่างขึ้น แผลต่าง ๆ จะหายไป รวมทั้งต้อด้วย ถ้าท่านใดเป็นมาก ควรทำไว้สักระยะหนึ่ง
3. ท่านที่เป็นริดสีดวงทวารหนัก ควรทานใบสด และควรนำใบยามาขยี้หรือตำให้ได้พอเหมาะยัดใส่ทวารหนัก จำทำให้แผลหายเร็ว ติ่งที่โผล่ยุบเลือดที่ออกก็จะหยุด
การเก็บรักษาให้ได้นาน
ถ้ามีใบยาที่แก่และเหลือง นำมาล้างแล้วผึ่งให้แห้ง นำมาปั่นหรือตำก็ได้ บีบน้ำยาใส่ถ้วย นำไปนึ่งให้สุกปล่อยให้เย็นแล้วใส่ขวดเก็บไว้ในตู้เย็น เก็บไว้ใช้ได้นาน ถ้าเป็นงูสวัด และแผลต่าง ๆ ใช้น้ำยาทา หรือนำใบยาสดมาตำพอกก็ได้ ตากแห้งทำใบชาได้
อาหารแสลงที่ควรระวัง
เช่น เนื้อ กุ้ง ปลาหมึก ปู ปลาทู ปลาร้า หูฉลาม กะปิ ข้าวเหนียว หน่อไม้ แตงกวา หัวผักกาด เผือก สาเก เครื่องดองของเมา น้ำชา กาแฟ (ถ้าสุขภาพไม่แข็งแรงควรงด) <สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทาน>
วิธีการปลูก
ต้นยาแปะตำปึงเมื่อปลูกได้ระยะหนึ่งประมาณปีกว่าต้นแม่ก็จะตาย ควรหักปักชำใหม่ เมื่อโตเต็มที่แล้วจะมีช่อดอกสีเหลืองไม่มีฝักและเมล็ด ต้องปักชำเท่านั้น ต้นยาชอบน้ำ อากาศดี ชอบแสงแดดพอสมควร และดินร่วน สิ่งที่ควรระวัง คือ เพี้ยแป้งชอบเกาะลำต้นและใบ ถ้ามีเพี้ยแป้งก็จะมีมดแดง จะทำให้ต้นยาเหียวแห้ง และตาย ต้องระวังสัตว์บางชนิดชอบกิน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
"อโรคยา ปรมาลาภา ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ" บล๊อกนี้จะให้ความรู้เกี่ยวกับการรักษาสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ ตลอดจนแนวทางการรักษา ขอขอบคุณทุกท่านที่มาเยี่ยมชม แนะนำ/ติชม กันได้ที่ payao1971@gmail.com