ต้นและใบนำมาผัดผักบุ้งไฟแดง ใส่ในสุกี้และก๋วยเตี๋ยว
ผักบุ้งจีนมีเบต้า-แคโรทีนสูง ช่วยบำรุงสายตา มีธาตุเหล็กสูง ช่วยปกกันโรคโลหิตจาง มีแคลเซี่ยม ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน.
ข่าวประชาสัมพันธ์
(1)
ข่าวสุขภาพ
(4)
คลิปวีดีโอ
(18)
ความรัก
(8)
ชะตาสุขภาพ
(1)
บทความ
(25)
โปรแกรมอาหาร
(2)
ผัก
(3)
ผู้หญิง
(1)
โรคผิวหนัง
(2)
ลดสัดส่วน
(40)
ลูกน้อย
(1)
สมุนไพร
(5)
สุขภาพกาย
(1)
สุขภาพจิต
(1)
สุขภาพรัก
(1)
อาหารเช้า
(2)
การรักษาโรคภูมิแพ้ผิวหนัง
โรคภูมิแพ้ผิวหนังจะมีลักษณะอาการแบ่งตามระยะเวลาที่โรคได้ 3 ระยะ ระยะแรกเป็นระยะเฉียบพลัน ระยะที่สองเป็นระยะกึ่งเฉียบพลัน จะมีอาการผื่นแดง คันมีน้ำเหลืองไหลเยิ้ม น้ำเหลืองก็จะเริ่มแห้งมีการตกสะเก็ด สะเก็ดจะมีสีน้ำตาลเคลือบอยู่ติดอยู่ที่บริเวณผื่น ผิวหนังก็จะหนาตัวขึ้นเล็กน้อย เป็นนานขึ้นก็จะเข้าสู่ระยะเรื้อรัง ซึ่งระยะนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังมาก ผิวหนังก็จะมีการหนาตัวขึ้นมาก โดยจะเห็นลักษณะรอยย่นของผิวหนังได้ชัดเจนขึ้น เซลล์ที่ตายไปแล้วก็จะหลุดออกมาเป็นขุยสีขาวๆ ในระยะแรกของระยะเฉียบพลัน เนื่องจากว่ามีน้ำเหลืองไหล ผื่นอาจจะแฉะดังนั้นการประคบโดยใช้อาจจะเป็นน้ำต้มสุก หรือน้ำสะอาดหรือน้ำเกลือประคบเพื่อให้ผื่นแห้งลงจะช่วยได้มาก หลังจากนั้นเมื่อผื่นแห้งลงควรยาในกลุ่มของยาสเตียรอยด์ทา เพื่อลดอาการอักเสบ ส่วนยารับประทานก็จะเป็นยาในกลุ่มลดอาการคัน ระยะเรื้อรังที่มีผิวหนังค่อนข้างหนา ก็อาจจะใช้ยาที่ทำให้ผิวหนังบางลงอาจจะเป็นยาทาในกลุ่มของซาลิซัยลิกเอซิก กลุ่มนี้ก็จะทำให้ผิวหนังบางลงและปรับสภาพผิวให้ดีขึ้น ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคกำเริบจะแบ่งได้เป็น 2 ปัจจัยหลัก ปัจจัยแรกเป็นภายในตัวของผู้ป่วยเอง เช่น ความเครียด การพักผ่อน ไม่เพียงพอ จะสามารถทำให้โรคกำเริบได้ ปัจจัยที่ 2 จะเป็นปัจจัยภายนอกร่างกาย เช่น อาหาร ส่วนใหญ่ที่แพ้ก็จะเป็นอาหารทะเล ส่วนสารเคมีอื่นๆ เช่น ผงซักฟอก, สบู่, เครื่องสำอาง สุดท้ายก็คือ พวกโลหะหนัก โดยเฉพาะนิเกิล ซึ่งจะผสมอยู่ในเครื่องประดับ และอยากจะเน้นเรื่องการศึกษาเพื่อที่จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่เป็นและการดำเนินของโรค ก็จะช่วยลดปัญหาทางด้านผิวหนังและทำให้ผู้ป่วยมีผิวพรรณที่ดีได้.
แพทย์หญิงพัชรินทร์ จันทร์จำรัสแสง
แพทย์หญิงพัชรินทร์ จันทร์จำรัสแสง
ผักชีไทย (Coriander)
ทำอาหารอะไรบ้าง?
กินเป็นผักสดกับอาหารประเภทลาบ พล่า ก้อย ข้าวเกรียบปากหม้อ สาคูไส้หมู ใช้แต่งอาหารและโรยหน้า แกงจืด ก๋วยเตี๋ยว รากและเมล็ดใช้เป็นเครื่องเทศ ดับกลิ่นคาวและผสมเครื่องแกง
รสชาติ/สรรพคุณ
แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลม เจริญอาหาร ต้มดื่มแก้หวัด อาหารเป็นพิษ ดับกลิ่นคาว ต้มเอาน้ำบ้วนปาก แก้ปวดฟัน กระทุ้งพิษไข้เหือดหัด สุกใส ดำแดง ใช้ขับเหงื่อ ขับพิษ แก้ไฟลามทุ่ง
ข้อมูลจาก : เอ็นพี ฟู๊ด
กินเป็นผักสดกับอาหารประเภทลาบ พล่า ก้อย ข้าวเกรียบปากหม้อ สาคูไส้หมู ใช้แต่งอาหารและโรยหน้า แกงจืด ก๋วยเตี๋ยว รากและเมล็ดใช้เป็นเครื่องเทศ ดับกลิ่นคาวและผสมเครื่องแกง
รสชาติ/สรรพคุณ
แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลม เจริญอาหาร ต้มดื่มแก้หวัด อาหารเป็นพิษ ดับกลิ่นคาว ต้มเอาน้ำบ้วนปาก แก้ปวดฟัน กระทุ้งพิษไข้เหือดหัด สุกใส ดำแดง ใช้ขับเหงื่อ ขับพิษ แก้ไฟลามทุ่ง
ข้อมูลจาก : เอ็นพี ฟู๊ด
ผัดกาดหอม (Lettuce)
ทำอาหารอะไรบ้าง?
ใบใช้ตกแต่งจานอาหาร กินเป็นผักสลัดหรือกินกับอาหารจำพวกยำ สาคูใส้หมู ข้าวเกรียบปากหม้อ
รสชาติ/สรรพคุณ
ผักกาดหอมมีแอนติออกซิแดนท์หลายชนิด ช่วยในการป้องกันและต่อต้านมะเร็งได้
ที่มา : เอ็นพี ฟู๊ด
ใบใช้ตกแต่งจานอาหาร กินเป็นผักสลัดหรือกินกับอาหารจำพวกยำ สาคูใส้หมู ข้าวเกรียบปากหม้อ
รสชาติ/สรรพคุณ
ผักกาดหอมมีแอนติออกซิแดนท์หลายชนิด ช่วยในการป้องกันและต่อต้านมะเร็งได้
ที่มา : เอ็นพี ฟู๊ด
ตั้งครรภ์พึงระวัง !?! ภาวะเสี่ยงใกล้คลอด
สุขภาพดีเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา ขณะที่โรคร้ายหลากหลายนำมาซึ่งความเจ็บป่วยการสูญเสีย การมีความรู้ความเข้าใจรู้หลักปฏิบัติเตรียมความพร้อมก่อนต้องเผชิญกับความ เจ็บป่วยจึงมีความสำคัญความจำเป็นที่ไม่อาจมองข้ามละเลย
เช่นเดียวกับว่าที่คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ซึ่งต้องรับภาระเพิ่มทั้งการดูแล ตนเอง ดูแลลูกน้อยในครรภ์ ตลอดระยะเวลาการอุ้มท้องทุกช่วงเวลาจากนี้จวบจนถึงการคลอดพบหน้าสมาชิกใหม่ ของครอบครัวจึงมีความหมาย
การดูแลครรภ์ ดูแลสุขภาพเพื่อหลีกไกลจากภาวะความเสี่ยงต่าง ๆ ศาสตราจารย์ นายแพทย์อภิชาติ จิตต์เจริญ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดลให้ความรู้แนะนำว่า ก่อนการตั้งครรภ์ควรเตรียมตัววางแผนไว้แต่เนิ่น ๆ อีกทั้งการตรวจสุขภาพเตรียมความพร้อมทั้งสามีและภรรยามีข้อดีหลายด้านช่วย คัดกรองไม่ให้เกิดผลเสียไปยังลูกน้อย ทั้งเรื่องของการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ภาวะเลือดจางจากโรคธาลัสซีเมีย ฯลฯ
การเตรียมความพร้อมที่ดีก่อนการตั้งครรภ์จึงมีความสำคัญ นอกจากนี้หากเกิดการตั้งครรภ์หากทราบถึงการมาของประจำเดือนครั้งสุดท้ายก็ เป็นสิ่งที่ดีมีความจำเป็น ทั้งนี้เพราะประจำเดือนในครั้งสุดท้ายจะถูกนำมาคาดคะเนวันคลอดคร่าว ๆ ทำให้ทราบถึงอายุครรภ์
“การที่ไม่ทราบประจำเดือนครั้งสุดท้ายจะเป็นปัญหาทำให้ไม่อาจทราบการตั้ง ครรภ์ว่าเกิดขึ้นนานเท่าใดซึ่งสิ่งนี้จะมีผลเสียตามมา ทั้งในเรื่องการคลอดก่อนกำหนดโดยไม่จำเป็นหรือการคลอดเกินกำหนดไป อีกทั้งยังส่งผลต่อการวางแผนการดูแลการตั้งครรภ์ อย่างการคลอดเกินกำหนดจะส่งผลต่อเด็ก เด็กจะขาดออกซิเจนในท้อง คลอดออกมาอาจทำให้ตัวเล็ก อาจมีการเสียชีวิตในครรภ์ได้ ฯลฯ”
การดูแลอย่างแรก หลังจากทราบว่าตั้งครรภ์ควรรีบฝากครรภ์แต่เนิ่น ๆ เพราะการฝากครรภ์แต่เริ่มแรกไม่เพียงทำให้ทราบอายุครรภ์อย่างแน่นอน แต่ยังทำให้ทราบถึงภาวะความเสี่ยงต่าง ๆ จากการตั้งครรภ์ได้ร่วมด้วย
เมื่อมีการตั้งครรภ์ถือว่ามีความเสี่ยงเกิดขึ้นแล้วและไม่ว่าจะเป็นการตั้ง ครรภ์ปกติหรือไม่ปกติก็ตาม ในครรภ์ที่ปกติถือว่ามีความเสี่ยงต่ำ แต่หากมีภาวะแทรกซ้อนถือว่ามีความเสี่ยงสูง ในความเสี่ยงที่อาจพบเจอมีทั้งในเรื่อง การแท้งบุตร การตั้งครรภ์นอกมดลูก ครรภ์เป็นพิษ ฯลฯ เหล่านี้ล้วนต่างเป็นความเสี่ยงที่ต้องใกล้ชิดดูแล
การดูแลครรภ์แต่ละช่วงแม้จะมีความแตกต่างกันแต่ก็ต้องใกล้ชิดรู้หลักปฏิบัติ สังเกตความผิดปกติ โดยทั่วไปแบ่งเป็น สามไตรมาส อย่างสามเดือนแรกที่กล่าวมาคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ควรรีบฝากครรภ์ เนื่องด้วยช่วงเวลานี้มีความเสี่ยงเกิดขึ้นหลายด้าน เมื่อมาฝากครรภ์แพทย์จะซักประวัติความเสี่ยงต่าง ๆ อย่างโรคทางกรรมพันธุ์ การตั้งครรภ์ที่ผ่านมามีภาวะแทรกซ้อนอย่างไร ในกรณีมารดาที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีหรือมีอายุมากกว่า 35 ปีถือว่าเป็นการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยง ช่วงการฝากครรภ์อย่างที่กล่าวจะมีการตรวจร่างกาย ตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือดหาหมู่เลือดดูภาวะต่าง ๆ ทั้งโลหิตจาง ตับอักเสบ ฯลฯ เมื่อมีการตรวจดังกล่าวก็จะดูว่าเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงหรือไม่ กรณีที่มี ความเสี่ยงสูงแพทย์จะมีการตรวจเฉพาะมีการดูแลอย่างใกล้ชิดต่อเนื่องไป
พอเข้าสู่ ไตรมาสสอง ภาวะแทรกซ้อนจะน้อยกว่าเมื่อเทียบกับไตรมาสแรกกับไตรมาสสาม ในไตรมาสนี้ภาวะแทรกซ้อนอย่างที่กล่าวมาอาจมีไม่มาก ถ้าจะมีก็จะเป็นเรื่องของความดันโลหิตสูงอาจจะเริ่มมีบ้างในกรณีที่ครรภ์ เป็นพิษ แต่โดยทั่วไปจะพบน้อยและในไตรมาสนี้ช่วงอายุครรภ์ประมาณ 18-22 สัปดาห์จะมีการอัลตราซาวด์ดูความปกติ ความสมบูรณ์ของเด็ก
จากนั้นพอมาถึง ไตรมาสสาม ภาวะแทรกซ้อนอาจมีเพิ่มขึ้น ในภาวะแทรกซ้อนใกล้คลอดที่มักพบจะมีทั้ง ครรภ์เป็นพิษ ซึ่งมีความอันตรายทั้งแม่และลูก ภาวะครรภ์เป็นพิษในช่วงตั้งครรภ์หากมีอาการปวดศีรษะมาก ตาพร่ามัวจุกแน่นหน้าอกต้องรีบพบแพทย์ทันที
นอกจากนี้ภาวะแทรกซ้อนยังมีในเรื่อง เบาหวานขณะตั้งครรภ์ การคลอดก่อนกำหนด ทารกเติบโตช้า การตั้งครรภ์เกินกำหนด หรือการตกเลือดก่อนคลอด จากภาวะรกเกาะต่ำ ส่วนสัญญาณการคลอดนอกจากการบีบตัวของมดลูกอย่างสม่ำเสมอแล้วการเปิดของปาก มดลูกเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่บอกได้ ในการบีบตัวของมดลูกผู้ที่กำลังตั้งครรภ์สังเกตถึงสิ่งนี้ได้
แต่หากมดลูกบีบตัวนานอาจทำให้เกิดการเจ็บปวดทำให้แม่ต้องทรมานและถ้ากรณีที่ เด็กเติบโตช้าน้ำหนักตัวน้อย การบีบตัวนานอาจทำให้เกิดผลเสียต่อเด็กในครรภ์เสียชีวิตได้ในกรณีที่ทารกขาด ออกซิเจนหรือมีภาวะทารกเติบโตช้า ฯลฯ ตลอด ช่วงระยะเวลาการตั้งครรภ์ การสังเกตดูแลตนเองอยู่เสมอจึงเป็นสิ่งสำคัญและแม้ว่าแพทย์จะดูแลอย่างเต็ม ที่ แต่ผู้ที่ตั้งครรภ์ก็ต้องไม่ละเลยสังเกตดูแลตนเองด้วยเช่นกัน อย่างการขยับการดิ้นของทารกในครรภ์ต้องสม่ำเสมอ สังเกตได้โดยปกติทารกจะดิ้นไม่น้อยกว่า 10 ครั้งในช่วง 12 ชั่วโมงหากน้อยกว่านี้ควรพบแพทย์เพราะสิ่งนี้เป็นสัญญาณหนึ่งที่บอกถึงความ ผิดปกติ
นอกจากนี้หญิงตั้งครรภ์ต้องพึงระวังเรื่อง น้ำหนัก ซึ่งหากมีน้ำหนักตัวเพิ่มมากเกินไป น้อยไป ก็ไม่เป็นผลดี อย่างน้ำหนักเพิ่มน้อยไปอาจทำให้ทารกในครรภ์ตัวเล็ก ส่วนน้ำหนักแม่เพิ่มมากเกินก็อาจทำให้ครรภ์เป็นพิษ เกิดเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรืออาจทำให้เด็กตัวโตเกินทำให้เกิดการ คลอดยากคลอดลำบาก ฯลฯ โดยทั่วไปน้ำหนักไม่ควรเพิ่มเกิน 2-3 กิโลกรัมต่อเดือน
การพักผ่อนที่เพียงพอเป็นอีกสิ่งสำคัญต่อผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ เช่นเดียวกับ การรับประทานอาหารมีประโยชน์ครบ 5 หมู่ จิตใจแจ่มใส ไม่เครียดวิตกกังวล และหากพบสิ่งผิดปกติช่วงใกล้คลอดหรือในขณะตั้งครรภ์ ทั้งภาวะปวดศีรษะบวม ตาพร่ามัว จุกแน่นหน้าอก มีเลือดออกหรือมีความผิดปกติสิ่งใดก็ตามต้องไม่มองข้าม อย่ารอช้าควรรีบพบแพทย์เพื่อลดความเสี่ยงขณะตั้งครรภ์ รวมทั้งยังช่วย กำจัดความเครียดความวิตกกังวลใจมีความหมายถึงการสร้างความปลอดภัยให้กับคุณ แม่และลูกน้อย
สุขภาพดีสิ่งที่ทุกคนปรารถนาไม่ว่าจะเป็นด้านใดหากเคร่งครัดปฏิบัติ ศึกษาดูแลถูกวิธีสิ่งนี้ย่อมเกิดได้.
ดูแลนิ้วมือ...ถือของหนักให้ถูกวิธี
สาว ๆ นักช้อปทั้งหลายที่ยังไม่มีหนุ่ม ๆ แนบกายคอยช่วยถือของต้องระมัดระวังอาการ “นิ้วล็อก” ที่เกิดขึ้นได้จากการใช้งานมืออย่างรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นการบีบกำ หรือหิ้วของหนัก ๆ ซ้ำ ๆ บ่อยครั้ง เพราะจะทำให้ปลอกหุ้มเอ็นบวม หดรัด กลายเป็นพังผืดที่ขาดความยืดหยุ่น ส่งผลให้เส้นเอ็นเคลื่อนตัวผ่านปลอกเอ็นไม่สะดวก เป็นที่มาของอาการนิ้วล็อกในที่สุด
นายแพทย์วิชัย วิจิตรพรกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลเลิดสิน อธิบายถึงอาการนิ้วล็อกว่าเป็นความผิดปกติของมือคนทำงานยิ่งแข็งแรงมากยิ่ง มีโอกาสมาก สามารถพบได้ในแม่บ้านเกือบทุกบ้าน และผู้หญิงมักจะเป็นมากกว่าผู้ชาย 3-4 เท่า เพราะผู้หญิงในเมืองไทยมีการใช้งานของมือรุนแรงซ้ำซากมากกว่าผู้ชาย ตั้งแต่หิ้วของ จ่ายกับข้าวและชอปปิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลไม้ยิ่งถูกยิ่งหิ้วมาก การเตรียมอาหาร การสับไก่ สับกระดูก การทำอาหารใช้มือจับกระทะ ตะหลิว การซักผ้า บิดผ้า ทำงานบ้านต่าง ๆ ล้วนแต่เป็นหน้าที่ของคุณผู้หญิง
อาการที่พบ เริ่มจากเจ็บฐานนิ้ว โคนนิ้วด้านฝ่ามือ นิ้วฝืด สะดุด กำมือหรือ เหยียดมือไม่สะดวก กระเด้ง หรือล็อก นิ้วงออยู่เหยียดไม่ออก หรือนิ้วเหยียดอยู่แต่งอไม่ลง นิ้วอาจบวม โก่งงอ นิ้วเกยกัน แบไม่ออก เจ็บปวด มือไม่มีกำลังมีอาการนิ้วชาร่วมด้วย หากพบว่าเพิ่งจะเริ่มมีอาการ ให้พักมือจากการใช้งานสักระยะ แช่น้ำอุ่นผสมกับการกินยาแก้อักเสบ การทำกายภาพบำบัด ฝึก กำ-แบ ด้วยมือเปล่า สะบัดมือเบา ๆ ให้เป็นการผ่อนคลาย ที่สำคัญนวดฐานนิ้วเบา ๆ จะทำให้ดีขึ้น ถ้าอาการเลวร้ายลงจนเกิดการล็อกของนิ้วมือ อาจต้องฉีดยาสเตียรอยด์เข้าไปเพื่อลดการบวม แต่ไม่ควรฉีดเกินสองครั้ง ถ้ายังไม่หายต้องผ่าตัด
หากเรารู้จักระมัดระวังตัวจะป้องกันได้ เช่น การหิ้วถุง ควรหิ้วถุงให้ถูกวิธี หิ้วให้เต็มฝ่ามือแทนการใช้นิ้วเกี่ยว ใช้ผ้ารอง ใช้รถเข็น รถลาก แน่นอนว่าการทำงานบางอย่างอาจหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ควรประยุกต์ใช้เครื่องทุ่นแรง ใส่ถุงมือ ประยุกต์ด้ามจับอุปกรณ์ให้ใหญ่และนิ่มจะลดความเสี่ยงได้ ถึงแม้เป็นโรคนิ้วล็อก การรักษาตั้งแต่แรกย่อมช่วยชะลอหรือตัดขบวนการที่จะพัฒนาต่อไปจนเป็นขั้น รุนแรงให้สามารถหายได้
นิ้วล็อกเป็นภัยเงียบที่ป้องกันได้ หากพยายามลดความเสี่ยงของการใช้มือผิด ๆ แค่นี้คุณก็จะมีสุขภาพมือที่ดีคู่กับสุขภาพกายที่แข็งแรงไปอีกนาน.
ข้อมูลจาก เดลินิวส์
วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2552
เช่นเดียวกับว่าที่คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ซึ่งต้องรับภาระเพิ่มทั้งการดูแล ตนเอง ดูแลลูกน้อยในครรภ์ ตลอดระยะเวลาการอุ้มท้องทุกช่วงเวลาจากนี้จวบจนถึงการคลอดพบหน้าสมาชิกใหม่ ของครอบครัวจึงมีความหมาย
การดูแลครรภ์ ดูแลสุขภาพเพื่อหลีกไกลจากภาวะความเสี่ยงต่าง ๆ ศาสตราจารย์ นายแพทย์อภิชาติ จิตต์เจริญ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดลให้ความรู้แนะนำว่า ก่อนการตั้งครรภ์ควรเตรียมตัววางแผนไว้แต่เนิ่น ๆ อีกทั้งการตรวจสุขภาพเตรียมความพร้อมทั้งสามีและภรรยามีข้อดีหลายด้านช่วย คัดกรองไม่ให้เกิดผลเสียไปยังลูกน้อย ทั้งเรื่องของการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ภาวะเลือดจางจากโรคธาลัสซีเมีย ฯลฯ
การเตรียมความพร้อมที่ดีก่อนการตั้งครรภ์จึงมีความสำคัญ นอกจากนี้หากเกิดการตั้งครรภ์หากทราบถึงการมาของประจำเดือนครั้งสุดท้ายก็ เป็นสิ่งที่ดีมีความจำเป็น ทั้งนี้เพราะประจำเดือนในครั้งสุดท้ายจะถูกนำมาคาดคะเนวันคลอดคร่าว ๆ ทำให้ทราบถึงอายุครรภ์
“การที่ไม่ทราบประจำเดือนครั้งสุดท้ายจะเป็นปัญหาทำให้ไม่อาจทราบการตั้ง ครรภ์ว่าเกิดขึ้นนานเท่าใดซึ่งสิ่งนี้จะมีผลเสียตามมา ทั้งในเรื่องการคลอดก่อนกำหนดโดยไม่จำเป็นหรือการคลอดเกินกำหนดไป อีกทั้งยังส่งผลต่อการวางแผนการดูแลการตั้งครรภ์ อย่างการคลอดเกินกำหนดจะส่งผลต่อเด็ก เด็กจะขาดออกซิเจนในท้อง คลอดออกมาอาจทำให้ตัวเล็ก อาจมีการเสียชีวิตในครรภ์ได้ ฯลฯ”
การดูแลอย่างแรก หลังจากทราบว่าตั้งครรภ์ควรรีบฝากครรภ์แต่เนิ่น ๆ เพราะการฝากครรภ์แต่เริ่มแรกไม่เพียงทำให้ทราบอายุครรภ์อย่างแน่นอน แต่ยังทำให้ทราบถึงภาวะความเสี่ยงต่าง ๆ จากการตั้งครรภ์ได้ร่วมด้วย
เมื่อมีการตั้งครรภ์ถือว่ามีความเสี่ยงเกิดขึ้นแล้วและไม่ว่าจะเป็นการตั้ง ครรภ์ปกติหรือไม่ปกติก็ตาม ในครรภ์ที่ปกติถือว่ามีความเสี่ยงต่ำ แต่หากมีภาวะแทรกซ้อนถือว่ามีความเสี่ยงสูง ในความเสี่ยงที่อาจพบเจอมีทั้งในเรื่อง การแท้งบุตร การตั้งครรภ์นอกมดลูก ครรภ์เป็นพิษ ฯลฯ เหล่านี้ล้วนต่างเป็นความเสี่ยงที่ต้องใกล้ชิดดูแล
การดูแลครรภ์แต่ละช่วงแม้จะมีความแตกต่างกันแต่ก็ต้องใกล้ชิดรู้หลักปฏิบัติ สังเกตความผิดปกติ โดยทั่วไปแบ่งเป็น สามไตรมาส อย่างสามเดือนแรกที่กล่าวมาคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ควรรีบฝากครรภ์ เนื่องด้วยช่วงเวลานี้มีความเสี่ยงเกิดขึ้นหลายด้าน เมื่อมาฝากครรภ์แพทย์จะซักประวัติความเสี่ยงต่าง ๆ อย่างโรคทางกรรมพันธุ์ การตั้งครรภ์ที่ผ่านมามีภาวะแทรกซ้อนอย่างไร ในกรณีมารดาที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีหรือมีอายุมากกว่า 35 ปีถือว่าเป็นการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยง ช่วงการฝากครรภ์อย่างที่กล่าวจะมีการตรวจร่างกาย ตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือดหาหมู่เลือดดูภาวะต่าง ๆ ทั้งโลหิตจาง ตับอักเสบ ฯลฯ เมื่อมีการตรวจดังกล่าวก็จะดูว่าเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงหรือไม่ กรณีที่มี ความเสี่ยงสูงแพทย์จะมีการตรวจเฉพาะมีการดูแลอย่างใกล้ชิดต่อเนื่องไป
พอเข้าสู่ ไตรมาสสอง ภาวะแทรกซ้อนจะน้อยกว่าเมื่อเทียบกับไตรมาสแรกกับไตรมาสสาม ในไตรมาสนี้ภาวะแทรกซ้อนอย่างที่กล่าวมาอาจมีไม่มาก ถ้าจะมีก็จะเป็นเรื่องของความดันโลหิตสูงอาจจะเริ่มมีบ้างในกรณีที่ครรภ์ เป็นพิษ แต่โดยทั่วไปจะพบน้อยและในไตรมาสนี้ช่วงอายุครรภ์ประมาณ 18-22 สัปดาห์จะมีการอัลตราซาวด์ดูความปกติ ความสมบูรณ์ของเด็ก
จากนั้นพอมาถึง ไตรมาสสาม ภาวะแทรกซ้อนอาจมีเพิ่มขึ้น ในภาวะแทรกซ้อนใกล้คลอดที่มักพบจะมีทั้ง ครรภ์เป็นพิษ ซึ่งมีความอันตรายทั้งแม่และลูก ภาวะครรภ์เป็นพิษในช่วงตั้งครรภ์หากมีอาการปวดศีรษะมาก ตาพร่ามัวจุกแน่นหน้าอกต้องรีบพบแพทย์ทันที
นอกจากนี้ภาวะแทรกซ้อนยังมีในเรื่อง เบาหวานขณะตั้งครรภ์ การคลอดก่อนกำหนด ทารกเติบโตช้า การตั้งครรภ์เกินกำหนด หรือการตกเลือดก่อนคลอด จากภาวะรกเกาะต่ำ ส่วนสัญญาณการคลอดนอกจากการบีบตัวของมดลูกอย่างสม่ำเสมอแล้วการเปิดของปาก มดลูกเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่บอกได้ ในการบีบตัวของมดลูกผู้ที่กำลังตั้งครรภ์สังเกตถึงสิ่งนี้ได้
แต่หากมดลูกบีบตัวนานอาจทำให้เกิดการเจ็บปวดทำให้แม่ต้องทรมานและถ้ากรณีที่ เด็กเติบโตช้าน้ำหนักตัวน้อย การบีบตัวนานอาจทำให้เกิดผลเสียต่อเด็กในครรภ์เสียชีวิตได้ในกรณีที่ทารกขาด ออกซิเจนหรือมีภาวะทารกเติบโตช้า ฯลฯ ตลอด ช่วงระยะเวลาการตั้งครรภ์ การสังเกตดูแลตนเองอยู่เสมอจึงเป็นสิ่งสำคัญและแม้ว่าแพทย์จะดูแลอย่างเต็ม ที่ แต่ผู้ที่ตั้งครรภ์ก็ต้องไม่ละเลยสังเกตดูแลตนเองด้วยเช่นกัน อย่างการขยับการดิ้นของทารกในครรภ์ต้องสม่ำเสมอ สังเกตได้โดยปกติทารกจะดิ้นไม่น้อยกว่า 10 ครั้งในช่วง 12 ชั่วโมงหากน้อยกว่านี้ควรพบแพทย์เพราะสิ่งนี้เป็นสัญญาณหนึ่งที่บอกถึงความ ผิดปกติ
นอกจากนี้หญิงตั้งครรภ์ต้องพึงระวังเรื่อง น้ำหนัก ซึ่งหากมีน้ำหนักตัวเพิ่มมากเกินไป น้อยไป ก็ไม่เป็นผลดี อย่างน้ำหนักเพิ่มน้อยไปอาจทำให้ทารกในครรภ์ตัวเล็ก ส่วนน้ำหนักแม่เพิ่มมากเกินก็อาจทำให้ครรภ์เป็นพิษ เกิดเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรืออาจทำให้เด็กตัวโตเกินทำให้เกิดการ คลอดยากคลอดลำบาก ฯลฯ โดยทั่วไปน้ำหนักไม่ควรเพิ่มเกิน 2-3 กิโลกรัมต่อเดือน
การพักผ่อนที่เพียงพอเป็นอีกสิ่งสำคัญต่อผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ เช่นเดียวกับ การรับประทานอาหารมีประโยชน์ครบ 5 หมู่ จิตใจแจ่มใส ไม่เครียดวิตกกังวล และหากพบสิ่งผิดปกติช่วงใกล้คลอดหรือในขณะตั้งครรภ์ ทั้งภาวะปวดศีรษะบวม ตาพร่ามัว จุกแน่นหน้าอก มีเลือดออกหรือมีความผิดปกติสิ่งใดก็ตามต้องไม่มองข้าม อย่ารอช้าควรรีบพบแพทย์เพื่อลดความเสี่ยงขณะตั้งครรภ์ รวมทั้งยังช่วย กำจัดความเครียดความวิตกกังวลใจมีความหมายถึงการสร้างความปลอดภัยให้กับคุณ แม่และลูกน้อย
สุขภาพดีสิ่งที่ทุกคนปรารถนาไม่ว่าจะเป็นด้านใดหากเคร่งครัดปฏิบัติ ศึกษาดูแลถูกวิธีสิ่งนี้ย่อมเกิดได้.
ดูแลนิ้วมือ...ถือของหนักให้ถูกวิธี
สาว ๆ นักช้อปทั้งหลายที่ยังไม่มีหนุ่ม ๆ แนบกายคอยช่วยถือของต้องระมัดระวังอาการ “นิ้วล็อก” ที่เกิดขึ้นได้จากการใช้งานมืออย่างรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นการบีบกำ หรือหิ้วของหนัก ๆ ซ้ำ ๆ บ่อยครั้ง เพราะจะทำให้ปลอกหุ้มเอ็นบวม หดรัด กลายเป็นพังผืดที่ขาดความยืดหยุ่น ส่งผลให้เส้นเอ็นเคลื่อนตัวผ่านปลอกเอ็นไม่สะดวก เป็นที่มาของอาการนิ้วล็อกในที่สุด
นายแพทย์วิชัย วิจิตรพรกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลเลิดสิน อธิบายถึงอาการนิ้วล็อกว่าเป็นความผิดปกติของมือคนทำงานยิ่งแข็งแรงมากยิ่ง มีโอกาสมาก สามารถพบได้ในแม่บ้านเกือบทุกบ้าน และผู้หญิงมักจะเป็นมากกว่าผู้ชาย 3-4 เท่า เพราะผู้หญิงในเมืองไทยมีการใช้งานของมือรุนแรงซ้ำซากมากกว่าผู้ชาย ตั้งแต่หิ้วของ จ่ายกับข้าวและชอปปิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลไม้ยิ่งถูกยิ่งหิ้วมาก การเตรียมอาหาร การสับไก่ สับกระดูก การทำอาหารใช้มือจับกระทะ ตะหลิว การซักผ้า บิดผ้า ทำงานบ้านต่าง ๆ ล้วนแต่เป็นหน้าที่ของคุณผู้หญิง
อาการที่พบ เริ่มจากเจ็บฐานนิ้ว โคนนิ้วด้านฝ่ามือ นิ้วฝืด สะดุด กำมือหรือ เหยียดมือไม่สะดวก กระเด้ง หรือล็อก นิ้วงออยู่เหยียดไม่ออก หรือนิ้วเหยียดอยู่แต่งอไม่ลง นิ้วอาจบวม โก่งงอ นิ้วเกยกัน แบไม่ออก เจ็บปวด มือไม่มีกำลังมีอาการนิ้วชาร่วมด้วย หากพบว่าเพิ่งจะเริ่มมีอาการ ให้พักมือจากการใช้งานสักระยะ แช่น้ำอุ่นผสมกับการกินยาแก้อักเสบ การทำกายภาพบำบัด ฝึก กำ-แบ ด้วยมือเปล่า สะบัดมือเบา ๆ ให้เป็นการผ่อนคลาย ที่สำคัญนวดฐานนิ้วเบา ๆ จะทำให้ดีขึ้น ถ้าอาการเลวร้ายลงจนเกิดการล็อกของนิ้วมือ อาจต้องฉีดยาสเตียรอยด์เข้าไปเพื่อลดการบวม แต่ไม่ควรฉีดเกินสองครั้ง ถ้ายังไม่หายต้องผ่าตัด
หากเรารู้จักระมัดระวังตัวจะป้องกันได้ เช่น การหิ้วถุง ควรหิ้วถุงให้ถูกวิธี หิ้วให้เต็มฝ่ามือแทนการใช้นิ้วเกี่ยว ใช้ผ้ารอง ใช้รถเข็น รถลาก แน่นอนว่าการทำงานบางอย่างอาจหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ควรประยุกต์ใช้เครื่องทุ่นแรง ใส่ถุงมือ ประยุกต์ด้ามจับอุปกรณ์ให้ใหญ่และนิ่มจะลดความเสี่ยงได้ ถึงแม้เป็นโรคนิ้วล็อก การรักษาตั้งแต่แรกย่อมช่วยชะลอหรือตัดขบวนการที่จะพัฒนาต่อไปจนเป็นขั้น รุนแรงให้สามารถหายได้
นิ้วล็อกเป็นภัยเงียบที่ป้องกันได้ หากพยายามลดความเสี่ยงของการใช้มือผิด ๆ แค่นี้คุณก็จะมีสุขภาพมือที่ดีคู่กับสุขภาพกายที่แข็งแรงไปอีกนาน.
ข้อมูลจาก เดลินิวส์
วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2552
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
"อโรคยา ปรมาลาภา ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ" บล๊อกนี้จะให้ความรู้เกี่ยวกับการรักษาสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ ตลอดจนแนวทางการรักษา ขอขอบคุณทุกท่านที่มาเยี่ยมชม แนะนำ/ติชม กันได้ที่ payao1971@gmail.com